โตโยต้า แถลงยอดขายรถยนต์ปี 2564 พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมปี 2565 ที่ 860,000 คัน ตั้งเป้าประมาณการขายโตโยต้าที่ 284,000 คัน
มร. โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2564 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2565 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ในการแถลงข่าวผ่านช่องทางออนไลน์
มร. ยามาชิตะ กล่าวว่า “ปี 2564 ถือเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจและสังคมไทยเผชิญความท้าทายจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตาม จากความมุ่งมั่นพยายามของภาครัฐและบุคลากรทางการแพทย์ เราเชื่อว่าสถานการณ์กำลังจะก้าวเข้าสู่ภาวะคลี่คลาย ในส่วนของโตโยต้า เรายังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนผ่านโครงการ ‘โตโยต้าเคียงคู่ไทย สู้ภัยโควิด-19’ โดยผนึกกำลังความร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายและผู้ผลิตชิ้นส่วนทั่วประเทศในการมอบรถยนต์ โตโยต้าและสิ่งของจำเป็นให้กับหน่วยงานราชการและบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า โดยเรามุ่งหวังที่จะก้าวข้ามผ่านความท้าทายครั้งนี้ไปด้วยกัน”
โตโยต้ากับกลยุทธ์ในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
มร. ยามาชิตะ เผยว่า “ก่อนอื่นผมขอเล่าให้ฟังถึงกลยุทธ์ของโตโยต้าในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าโตโยต้ามุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้สำเร็จภายในปี 2593 โดยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 คุณอากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศไว้ว่าโตโยต้ามีกลยุทธ์มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกลยุทธ์ด้านยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ ท่านได้ประกาศไว้ว่าโตโยต้าจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ครบทั้ง 30 รุ่น ภายในปี 2573 โดยรวมไปถึงรถซีรีส์ bZ จำนวน 5 โมเดล ซึ่งมาพร้อมกับแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่โดยเฉพาะ โตโยต้ามุ่งมั่นที่จะขายรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ให้ได้ทั้งสิ้น 3.5 ล้านคัน ภายในปี 2573 ทั้งนี้ โตโยต้าทุ่มเงินลงทุน 1.2 ล้านล้านบาทเพื่อพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ โดยที่เงิน 0.6 ล้านล้านบาทนั้นเป็นการลงทุนด้านแบตเตอรี่ และยังลงทุนอีก 1.2 ล้านล้านบาท สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง ภายในปี 2573”
“เรายังเชื่อมั่นว่าหากเราสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนได้สำเร็จ ก็แปลว่าเราได้สร้างโลกใบที่ทุกคนที่อาศัยอยู่นั้นสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข เราอยากมีส่วนช่วยสร้างโลกแบบนั้นให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม เราอาศัยอยู่บนโลกที่มีความแตกต่างหลากหลาย อีกทั้งยังอยู่ในยุคสมัยที่คาดเดาอนาคตได้ยาก ดังนั้นการตอบโจทย์ความต้องการของทุกคนให้ได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวเลือกที่มีเพียงหนึ่งเดียวนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย โตโยต้าจึงมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอตัวเลือกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั่วโลก ด้วยแนวทางนี้ทำให้โตโยต้าสามารถบรรลุเป้าหมายของเราในการสร้าง ‘รถยนต์ที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและลดการปล่อยคาร์บอน’ และสอดคล้องกับจุดยืนในการสร้างสรรค์ ‘การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน’ และ ‘ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’”
มร. ยามาชิตะ กล่าวว่า “ในประเทศไทยนั้น โตโยต้าเป็นผู้ริเริ่มแนะนำเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2552 โดยครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ถึง 80% และมีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของโตโยต้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เราสามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปได้ 148,000 ตัน ซึ่งเท่ากับการปลูกต้นไม้ 2 ล้านต้น อีกทั้งในปีที่แล้ว เรายังได้ทำการแนะนำ เลกซัส UX300e ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ และ เลกซัส NX450h+ ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด สำหรับแบรนด์โตโยต้า เรามีแผนที่จะทำการแนะนำ bZ4X ซึ่งถือเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของซีรีส์ bZ ออกสู่ตลาดภายในปีนี้ ยิ่งไปกว่านั้น เราจะพยายามส่งเสริมให้มีการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหลักสำหรับการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าอีกหลากหลายรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งความมุ่งมั่นดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางของภาครัฐที่มุ่งเดินหน้าส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้า การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนการบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนให้เป็นศูนย์ นอกจากนี้ เรายังได้มีการประสานความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อพยายามผลักดันการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนโดยครอบคลุม ‘ตลอดทั้งวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์’ ยกตัวอย่างเช่น ‘โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนโดยปราศจากมลภาวะ’ ซึ่งเราจะสาธิตให้เห็นถึงการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าหลากหลายประเภทในการเดินทางคมนาคม ภายในเมืองพัทยา และเราได้เริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ในการริเริ่มใช้โครงสร้างพื้นฐานพลังงานสะอาด เช่น ไฮโดรเจน พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ ใน ‘นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด’ อีกด้วย”
สถิติการขายรถยนต์ในปี 2564
มร. ยามาชิตะ กล่าวว่า “อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่าปี 2564 เป็นปีที่สถานการณ์โรคโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต เช่น ปัญหาชิปขาดตลาด ด้วยเหตุนี้ ยอดขายรวมภายในประเทศจึงอยู่ที่ราว 759,119 คัน หรือลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับปี 2563”
สถิติการขายรถยนต์ในปี 2564 |
ยอดขายปี 2564 |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการขายรวม |
759,119 คัน |
- 4.2% |
รถยนต์นั่ง |
251,800 คัน |
-8.4% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
507,319 คัน |
-1.9% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
393,476 คัน |
-3.9% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
341,452 คัน |
-6.4% |
มร. ยามาชิตะ เผยถึงยอดขายของโตโยต้าในปีที่ผ่านมาว่า “สำหรับยอดขายของโตโยต้าในปี 2564 นั้น ยอดขายรวมของเราอยู่ที่ประมาณ 239,723 คัน หรือลดลง 1.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเรายังคงครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 31.6% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งหากว่ากันตามตรง ถือว่าต่ำกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ถ้าเราดูยอดขายของปีที่แล้วจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของเราเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา สืบเนื่องมาจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ เช่น การขายผ่านช่องทางออนไลน์ ถ้าเราลองดูที่ยอดขายของโตโยต้าในระหว่างช่วงไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 4 จะเห็นได้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของเราอยู่ที่ 32.5% ซึ่งเป็นระดับที่ไกล้เคียงกับในปี 2562 หรือช่วงก่อนที่โรคโควิด-19 จะระบาด โดยในส่วนของยอดขายของไฮลักซ์ รีโว่ นั้น มีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 39.1% ซึ่งสูงกว่าของปี 2562 ในขณะที่ เอทีฟ และ ยาริส นั้น ก็สามารถครองอันดับ 1 ในตลาดรถ อีโคคาร์"
“ในส่วนของตลาดรถยนต์อเนกประสงค์ โตโยต้ามียอดขายรวมทั้งปีเป็นอันดับ 1 ถึง 2 ปีซ้อน ด้วยยอดขายที่สูงเป็นประวัติการณ์ของโคโรลลา ครอส ส่วนฟอร์จูนเนอร์เองก็มียอดขายเป็นอันดับ 1 ในตลาดรถกระบะดัดแปลงต่อเนื่องมาเป็นเวลา 10 ปี ในขณะเดียวกัน คัมรี ก็ครองอันดับ 1 ในตลาดรถยนต์ขนาดกลาง ส่วนไฮเอซก็ครองอันดับ 1 ตลอดกาลเช่นกันสำหรับในตลาดรถตู้ ซึ่งเราขอแสดงความขอบคุณต่อลูกค้าคนสำคัญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้สนับสนุนเราเป็นอย่างดีเสมอมา”
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564 |
ยอดขายปี 2564 |
การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า |
239,723 คัน |
-1.9% |
31.6% |
รถยนต์นั่ง |
62,403 คัน |
-8.4% |
24.8% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
177,320 คัน |
+0.7% |
35.0% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
151,501 คัน |
+1.2% |
38.5% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
128,639 คัน |
-1.0% |
37.7% |
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2565
มร. ยามาชิตะ กล่าวถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2565 ว่า “เป็นไปได้ว่าโควิด-19 จะยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย อย่างไรก็ดี เราคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะกลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด นอกจากนี้ ประชาชนเองก็เรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสถานการณ์โรคโควิด-19 ให้ได้อย่างปลอดภัยแล้ว ส่วนปัญหาชิ้นส่วนการผลิตขาดตลาดก็จะค่อยๆ คลี่คลายลงเช่นกัน เราคาดหวังว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะกลับคืนสู่สภาวะปกติและคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2565 จะอยู่ที่ 860,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 13.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2565 |
ยอดขายประมาณการปี 2565 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564 |
ปริมาณการขายรวม |
860,000 คัน |
+ 13.3% |
รถยนต์นั่ง |
292,500 คัน |
+ 16.2% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
567,500 คัน |
+ 11.9% |
มร. ยามาชิตะ กล่าวเสริมว่า “สำหรับโตโยต้า เราตั้งเป้ายอดขายอยู่ที่ 284,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 18.5% โดยครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 33%”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ โตโยต้าในปี 2565 |
ยอดขายประมาณการปี 2565 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564 |
ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า |
284,000 คัน |
+ 18.5% |
33.0% |
รถยนต์นั่ง |
81,000 คัน |
+ 29.8% |
27.7% |
รถเพื่อการพาณิชย์ |
203,000 คัน |
+ 14.5% |
35.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) |
175,932 คัน |
+ 16.1% |
40.6% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) |
149,000 คัน |
+ 15.8% |
39.8% |
ปริมาณการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2564
"ในด้านการส่งออกรถยนต์ ในปี 2564 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปราว 292,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 35.5% จากปี 2563 โดยยอดรวมการผลิตรถยนต์สำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกในปี 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 514,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 16.1% จากปี 2563"
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของ โตโยต้าในปี 2564 |
ปริมาณในปี 2564 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการส่งออก |
292,000 คัน |
+ 35.5% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ |
514,000 คัน |
+ 16.1% |
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2565
"สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ เราคาดว่าความต้องการของตลาดต่างประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น โดยเราตั้งเป้าปริมาณการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 371,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 27.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเราตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของปี 2565 อยู่ที่ ราว 647,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 25.9% จากปีที่ผ่านมา"
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2565 |
ปริมาณในปี 2565 |
เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2564 |
ปริมาณการส่งออก |
371,000 คัน |
+ 27.2% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ |
647,000 คัน |
+ 25.9% |
ทิศทางการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าในประเทศไทย
มร.ยามาชิตะ กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าในประเทศไทยว่า “ปีนี้เป็นปีที่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาครบ 60 ปี และเรากำลังเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่อนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น พร้อมปรับเปลี่ยนตัวเราเองสู่การ ‘เป็นผู้นำพาการขับเคลื่อนยุคใหม่เพื่อเสริมสร้างความสุขของผู้คน และความยั่งยืนของสังคม’ เราขอให้คำมั่นว่าจะมอบความสุขให้กับประชาชนชาวไทยและ ‘เติบโตเคียงคู่ไปกับสังคมไทย’ ผ่านการนำเสนอยานยนต์เพื่อการขับเคลื่อน ตลอดจนบริการและโซลูชั่นส์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนด้วยเช่นกัน โดยเราได้ออกแบบโลโก้ฉลองครบรอบ 60 ปีที่มาพร้อมกับแท็กไลน์ ‘Move Your World’ หรือในภาษาไทยคือ ‘ร่วมขับเคลื่อนอนาคต’ เพื่อสะท้อน ‘พลังและการขับเคลื่อนไปข้างหน้า’ แสดงให้เห็นว่าในอนาคต โตโยต้าจะนำเสนอยานยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตลอดจนสร้างสรรค์เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบ”
“ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมความสุขที่ยั่งยืนให้กับประเทศไทย เรายังจะร่วมเสริมสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โตโยต้าจะเดินหน้าผลักดันภารกิจของเราในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ ‘ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน’ ผ่านการดำเนินงานหลักในด้านต่างๆ ภายใต้กรอบของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งหมดนี้เราอยากขอแสดงความขอบคุณจากใจจริงอีกครั้งต่อภาครัฐ ลูกค้าผู้มีอุปการคุณ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้สนับสนุนเราอย่างดีตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา” มร. ยามาชิตะ กล่าวในท้ายที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2564
1.)ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 91,010 คัน ลดลง 12.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 27,150 คัน | ลดลง 18.2% | ส่วนแบ่งตลาด 29.8% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 18,801 คัน | ลดลง 18.0% | ส่วนแบ่งตลาด 20.7% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 11,556 คัน | เพิ่มขึ้น 14.7% | ส่วนแบ่งตลาด 12.7% |
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 31,917 คัน ลดลง 16.3%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 8,763 คัน | เพิ่มขึ้น 4.6% | ส่วนแบ่งตลาด 27.5% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 7,347 คัน | ลดลง 16.6% | ส่วนแบ่งตลาด 23.0% |
อันดับที่ 3 ซูซูกิ | 2,776 คัน | ลดลง 14.8% | ส่วนแบ่งตลาด 8.7% |
3.)ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 59,093 คัน ลดลง 10.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 19,803 คัน | ลดลง 18.8% | ส่วนแบ่งตลาด 33.5% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 18,801 คัน | ลดลง 18.0% | ส่วนแบ่งตลาด 31.8% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 4,117 คัน | ลดลง 10.4% | ส่วนแบ่งตลาด 7.0% |
4.)ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 42,785 คัน ลดลง 16.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 16,908 คัน | ลดลง 21.6% | ส่วนแบ่งตลาด 39.5% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 16,733 คัน | ลดลง 16.8% | ส่วนแบ่งตลาด 39.1% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 4,117 คัน | ลดลง 10.4% | ส่วนแบ่งตลาด 9.6% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 6,280 คัน
โตโยต้า 2,459 คัน – อีซูซุ 1,990 คัน – มิตซูบิชิ 872 คัน – ฟอร์ด 707 คัน – นิสสัน 252 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 36,505 คัน ลดลง 17%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 14,918 คัน | ลดลง 20.5% | ส่วนแบ่งตลาด 40.9% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 14,274 คัน | ลดลง 18.0% | ส่วนแบ่งตลาด 39.1% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 3,410 คัน | ลดลง 8.8% | ส่วนแบ่งตลาด 9.3% |
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2564
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 759,119 คัน ลดลง 4.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 239,723 คัน | ลดลง 1.9% | ส่วนแบ่งตลาด 31.6% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 184,160 คัน | เพิ่มขึ้น 1.6% | ส่วนแบ่งตลาด 24.3% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 88,692 คัน | ลดลง 4.7% | ส่วนแบ่งตลาด 11.7% |
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 251,800 คัน ลดลง 8.4%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 76,886 คัน | ลดลง 0.7% | ส่วนแบ่งตลาด 30.5% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 62,403 คัน | ลดลง 8.4% | ส่วนแบ่งตลาด 24.8% |
อันดับที่ 3 มาสด้า | 19,800 คัน | ลดลง 20.3% | ส่วนแบ่งตลาด 7.9% |
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 507,319 คัน ลดลง 1.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 184,160 คัน | เพิ่มขึ้น 1.6% | ส่วนแบ่งตลาด 36.3% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 177,320 คัน | เพิ่มขึ้น 0.7% | ส่วนแบ่งตลาด 35.0% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 32,329 คัน | เพิ่มขึ้น 8.3% | ส่วนแบ่งตลาด 6.4% |
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 393,476 คัน ลดลง 3.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 167,180 คัน | ลดลง 0.8% | ส่วนแบ่งตลาด 42.5% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 151,501 คัน | เพิ่มขึ้น 1.2% | ส่วนแบ่งตลาด 38.5% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 32,329 คัน | เพิ่มขึ้น 8.3% | ส่วนแบ่งตลาด 8.2% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 52,024 คัน
โตโยต้า 22,862 คัน – อีซูซุ 16,439 คัน – มิตซูบิชิ 6,619 คัน – ฟอร์ด 5,025 คัน – นิสสัน 1,079 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 341,452 คัน ลดลง 6.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 150,741 คัน | ลดลง 6.0% | ส่วนแบ่งตลาด 44.1% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 128,639 คัน | ลดลง 1.0% | ส่วนแบ่งตลาด 37.7% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 27,304 คัน | เพิ่มขึ้น 11.4% | ส่วนแบ่งตลาด 8.0% |